Search

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

2.History of Route Surveying


ประวัติความเป็นมาของการสำรวจแนวทาง
       Route
เส้นทางของรถ เรือ เครื่องบิน , กำหนดเส้นทาง , เส้นทาง

         Surveying - การสำรวจ      

     Route Surveying จึงหมายถึง การสำรวจแนวทาง , การสำรวจเส้นทาง


           ความเจริญของมนุษยชาติในด้านต่างๆ นั้น เจริญได้เพราะความดิ้นรนที่จะเสาะแสวงหาสิ่งใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และ บำบัดความต้องการในด้านต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นเพื่อการยังชีพที่สมบูรณ์ ในด้านวิชาการสำรวจก็เช่นเดี่ยวกัน การสำรวจในสมัยแรกก็เริ่มขึ้นด้วยความพยายามของมนุษย์ที่จะใช้วิธีการสำรวจในการวัดที่ดิน เพื่อจะคำนวนภาษีได้อย่างถูกต้อง จึงคิดวิธีวัดและเครื่องมือขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวแทนอันยาวนานเป็นศตวรรษของความคิดและความพยายาม 


          ประวัติของการสำรวจอย่างย่อๆ
- สมัยโบราน (Ancient Times) ประวัติศาสตร์การสำรวจในสมัยเริ่มแรกได้เจริญขึ้นควบคู่มากับวิชาคณิตศาสตร์ ตามความเป็นจริงแล้ววิชาคณิตศาสตร์ ได้เจริญขึ้นเพราะการใช้การคำนวณในงานธุรกิจการค้า ซึ่งติดต่อซื่อขายกันในสมัยโบราณ ตัวอย่างเช่นการกำหนดเขตที่ดิน และการวัดที่ดินเพื่อให้ทราบเนื้อที่ ความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์และการสำรวจนั้นได้ปรากฏอยู่ในคณิตศาสตร์สาขาที่เก่าแก่ที่สุด คือ เรขาคณิต (Geometryซึ่งมาจากภาษากรีก มีความหมายว่า การวัดที่ดิน (Earth Measurement)

สมัยอียิปต์ (Egyptians) เป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว ในสมัยนั้นอียิปต์ปกครองโดยมีฟาโรห์เป็นประมุข ถือว่าที่ดินทั้งหมดเป็นของฟาโรห์ (Farohแต่ได้แบ่งที่ดินเหล่านั้นให้แก่ขุนนาง ขุนนางก็ได้แบ่งต่อๆ ลงไปจนถึงราษฎร โดยขุนนางเก็บภาษีจากราษฎรตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ยึดถือ การนี้ช่างสำรวจ(surveyorเป็นผู้วัดที่ดินและเนื้อที่การวัดชาวอียิปต์ได้ใช้เชือกวัด เรียกว่า Harpedonaptae or Rope Stretchers เชือกนี้ยาวเป็นมาตรฐาน มีอยู่ 12 ช่วง แต่ละช่วงทำเป็มปุ่มไว้ แล้วแบ่ง 12 ช่วงออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ ให้ช่วงแรกยาว 3 ปุ่ม ช่วงที่สองยาว ปุ่ม ช่วงที่สามยาว ปุ่ม เมื่อจะวัดเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก วัดแล้วก็ใช้ไม้ปักไว้เป็นเขต ต่อมาได้ใช้แก่นไม้ปักเพราะมั่นคงแข็งแรงดี น้ำในแม่น้ำไนล์ท่วมไม่พัดพาไป ไม่ต้องรังวัดกันบ่อยๆ 
นอกจากนี้ ชาวอียิปต์ยังสามารถคำนวนพื้นที่วงกลมได้อีกด้วย คือ กำหนดให้ด้านยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ส่วน แล้วลบออกเสีย ส่วน ที่เหลือ 8 ส่วนยกกำลังสอง ก็จะเป็นพื้นที่ของวงกลม และกำหนด  เท่ากับ 3 1605 ซึ่งใช้ถูกต้องกว่าพวก Babylonians และ Hebrews ซึ่งใช้ค่าของ  = 3.0000 ในการสร้าง Pyramids ก็ได้วางตำแหน่งให้ชี้ตรงไปทางทิศเหนือ ซึ่งแสดงว่าการคำนวนทิศททางในทางดาราศาสตร์ในสมัยนั้นเริ่มใช้กันแล้ว Pyramids และสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นๆ มักจะสร้างขึ้นเป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยอาศัยอัตส่วน 3:4:5

- สมัยชาติบาบิโลน (Babylonians) ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาดาราศาสตร์ (Astronomy) ไว้มาก ได้ให้ชื่อกลุ่มดาวต่างๆ ไว้หลายชื่อ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการสำรวจ เขามีความรู้ทางด้านนี้มากกว่าทางคณิตศาสตร์ หรือการสำรวจ อย่างไรก็ตามในสมัยเริ่มแรกนั้น เขารู้ว่ารัศมีของวงกลมนั้นสามารถที่ประยุกต์กับเส้นรอบวงได้ โดยกำหนดให้ ชยา (Chordมีทั้งหมด 6 ชยา และแต่ละชยาแบ่งเป็น60  เขาแบ่ง 1 วัน ออกเป็น 24ชั่วโมง 1 ชั่วโมงแบ่งออกเป็น 60 นาที 1 นาทีแบ่งออกเป็น 60 วินาที นอกจากนั้นยังรู้จักแบ่ง วงกลมออกเป็น 360  แต่ละองศาเทียบเป็นวันที่ล่วงไป 1 วันตามการเดินของดวงอาทิตย์ ตามเส้นทางเดินระหว่างหมู่ดาว เราทราบดีว่าวัฏจักรของวันใน ปีมากกว่า 360 วัน

- สมัยชาติกรีก (Greek)  ได้ก่อให้เกิดวิชาการต่างๆ ขึ้นหลายอย่าง ทั้งในทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ ในด้านการสำรวจนั้นความรู้ทางเรขาคณิต และการวัดหาเนื้อที่ (Measurationของชาวอียิปต์ เมื่อตกมาถึงมือของนักปรัชญาชาวกรีก ก็ได้มีการคิดค้นปรับปรุงให้ดีขึ้น ปราชญ์ Plato ได้กล่าวว่า อะไรก็ตามที่เราชาวกรีกได้รับมา เราก็จะปรับปรุงจนสมบูรณ์แบบ” ดังนี้ หลักการ 3:4:5 ที่อียิปต์ใช้เชือกวัดที่ดิน Pythagoras ก็ได้สร้างงเป็นทฤษฎีที่มีชื่อเสียงขึ้นเรียกว่า Pythagoras’ Theorem” แต่ระบุชื่อของ Euclid และ Archimedes ความเจริญอย่างหนึ่งที่ชาวกรีกได้ให้ไว้ ก็คือ ชาวกรีกได้ให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ไว้มาก แต่ให้ความรู้ใดการสำรวจไว้น้อย มีเครืองมือชนิดหนึ่งซึ่งชาวกรีกชื่อ Heron พำนักอยู่ในเมือง Alexandria ระหว่าง 150-180 B.C. ได้ประดิษขึ้นชื่อว่า Dioptra” และมีหนังสือชื่อDioptra” ประกอบการใช้เครื่องมือชนิดนี้ หนังสือเล่มนี้มีหลายเรื่องซึ่งน่าสนใจ ที่มีชื่อมากก็คือ วิธีการคำนวนเนื้อที่ ของรูปสามเหลี่ยมใดๆ เมื่อรู้ด้านด้าน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น