Search

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

6.Schedule of Surveying


การสํารวจ มีความมุ่งหมายหรือจุดประสงค์แตกต่างกันไปในงานวิศวกรรม แต่สามารถสรุปจุดประสงค์ของ งานสํารวจทางวิศวกรรมได้เป็น 3 กรณีคือ  
1) การรังวัดเพื่อการจัดทําแผนผังหรือแผนที่  เป็นการเปลี่ยนตําแหน่งของสิ่งที่อยู่บนภูมิประเทศ ให้เป็น ตําแหน่งบนแผ่นกระดาษ  โดยการวัดและคํานวณหาตําแหน่งของรายละเอียดบนภูมิประเทศ เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ ต้นไม้หรือสิ่งตามธรรมชาติแล้วเขียนเป็นแผนที่แผนผัง หรือรูปตัด ที่ สอดคล้องกับสภาพจริงด้วยมาตราส่วนที่เหมาะสม  
2) การรังวัดเพื่อการกอสร้าง เป็นการเปลี่ยนค่าต ําแหน่งของสงที่ อยู่บนแผนกระดาษซึ่งอาจจะเป็น แบบ แผนผัง หรือแผนท ี่ ให้เป็นตำแหน่งบนภูมิประเทศ จุดมุ่งหมายนี้จะตรงข้ามกับจุดมุ่งหมายในข้อแรก เช่น การวัดเพื่อวางแนวในการก่อสร้างถนน การกําหนดตําแหน่งของฐานรากบนพื้นในงานก่อสร้าง อาคารเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน  
3) การรังวัดเพื่อหาสิ่งที่ต้องการรู้ เช่น ระยะทาง ทิศทาง รูปร่าง ขนาดพื้นที่ปริมาตรงานดินขุดหรือดินถม โดยการวัดอาจกระทําบนภูมิประเทศหรือวัดจากแผนที่ที่มีอยู่ก็ได้
      
การกําหนดแผนงานของการสํารวจ (Schedule  of Surveying) เพื่อการออกแบบ ถือว่ามีส่วน สําคัญมากต่อการทํางานสํารวจในสนาม วิศวกรสํารวจ, ช่างสํารวจและหัวหน้าหน่วยสํารวจ  จําเป็น จะต้องทราบอัตราการทํางานของหน่วยสํารวจที่สามารถจะทํางานได้ เพื่อนํามาประกอบใช้ในการ พิจารณากําหนดแผนงานสํารวจ โดยมีเป้าหมายสําคัญคือควบคุมการทํางานให้เสร็จตามเป้าหมาย ที่ตั้งไวทั้งนี้เป้าหมายที่ตั้งไว้ก็ต้องมีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับอัตราการทํางานของหน่วย สํารวจด้วยเป้าหมายที่กําหนดขึ้นเป็นสําคัญ โดยอาจจะเป็นเป้าหมายที่กําหนดขึ้นตามกําลังคน ความสามารถ และเครื่องมือที่มีอยู่ทําการกําหนดแผนงานสํารวจขึ้นหรือสอดคล้องกับเป้าหมาย แผนงานอื่น ๆ ที่ได้มีการกําหนดขึ้นแล้ว ซึ่งผู้ทําการกําหนดแผนงานสํารวจจะต้องประมาณกําลังคน ความสามารถ และเครื่องมือที่มีอยู่ให้มีความเหมาะสมที่จะสามารถทํางานให้เสร็จได้ตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ได้รายละเอียดของปฏิบัติมีดังต่อไปนี้  
    วัตถุประสงค์  
1.) เพื่อให้สามารถกําหนดแผนงานของการสํารวจแนวทางของถนนเบื้องต้นได้  
2.) เพื่อฝึกให้สามารถวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาให้มีความสอดคล้อง สมเหตุสมผลกับอัตราการทํางานของทีมสํารวจ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดขึ้น   
3.) เพื่อฝึกให้สามารถทํางานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
 ตัวอย่าง 
ทําการกําหนดแผนงานสํารวจเพื่อการออกแบบถนน  กําหนดให้มีระยะทางที่จะทําการสํารวจประมาณ 40 กิโลเมตร และผ่านสภาพภูมิประเทศต่างๆ 40 กิโลเมตร และผ่านสภาพภูมิประเทศต่าง ๆ  เช่น พื้นที่ราบ, ทุ่งนา,พื้นที่ลุม ๆ ดอนๆ, ภูเขาและผ่านชุมชน หรือหมู่บ้านเป็นต้น ขอบเขตของ การรังวัดเก็บรายละเอียดของแนวทางถนนข้างละ 30 เมตร จากแนวศูนย์กลางของเส้นสํารวจ สมมติว่ามีกําลังคนเพียงพอที่จะทํางานวางแนวทาง (Alignment) กับงานรังวัดระดับทั้ง 2 ประเภท ได้พร้อมกันและมีเครื่องมือพร้อมสําหรับการทํางานได้ทั้ง 4 ประเภท 
วิธีทำ (อาจสร้างเป็นตาราง)
ประเภทงาน อัตราการทำงาน หมายเหตุ    
  (เมตร/วัน)      
1. งานวางแนวทาง         
       ระยะทาง 5.8 km (ไม่ต้องถางป่าบนพื้นลุ่มๆ ดอนๆ) 5800/800 = 8      
       ระยะทาง 16.4 km (ไม่ต้องถางป่าบนพื้นที่ราบ)    16400/1000 = 17
       ระยะทาง 12.8 km (ไม่ต้องถางป่าบนพื้นที่ภูเขา) 12800/200 = 64 *รวมใช้เวลา 89 วัน
2. งานรังวัดระดับตามแนวทางและหมุดระดับ         
       ระยะทางบนพื้นลุ่มๆ ดอนๆ 5.8 km 5800/1000 = 6      
       ระยะทางบนพื้นที่ราบ 16.4 km 16400/1500 = 11      
       ระยะทางบนพื้นที่ภูเขา 12.8 km 12800/600 = 22 *รวมใช้เวลา 39 วัน    
3. งานรังวัดระดับตามขวางแนวทาง        
       ระยะทาง 5.8 km (ไม่ต้องถางป่าบนพื้นลุ่มๆ ดอนๆ) 5800/1000 = 6      
       ระยะทาง 16.4 km (ไม่ต้องถางป่าบนพื้นที่ราบ)         16400/1400 = 12      
       ระยะทาง 12.8 km (ไม่ต้องถางป่าบนพื้นที่ภูเขา) 12800/400 = 32 *รวมใช้เวลา 50 วัน    
4. งานรังวัดเก็บรายละเอียด        
       - 41.5 km 41500/6000 = 7 *รวมใช้เวลา 7 วัน    

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานต่างๆ เมื่อเสร็จ

------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น